1. ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้ง
เทศบาลเมืองบางบัวทอง ตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทย เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี ตั้งอยู่ที่ อาคารเลขที่ 4 หมู่ที่ 2 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110 อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 25 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 33 นาที อยู่ห่างจาก จังหวัดนนทบุรี ประมาณ 14 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางตัวจังหวัดประมาณ 20 นาที และอยู่ห่างจากตัว อำเภอบางบัวทอง ประมาณ 9.9 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางตัวอำเภอประมาณ 18 นาที มีเนื้อที่ 13.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 10.43 ไร่ ตั้งอยู่บนละติจูดที่ 13.909973 ลองติจูดที่ 100.426057
![]() |
![]() |
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
เทศบาลเมืองบางบัวทอง มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม ระดับความสูงของพื้นดิน เฉลี่ยประมาณ 2 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีลำคลองไหลผ่านหลายสายใช้ในการสัญจรไปมาภายในชุมชนและระหว่างชุมชนใกล้เคียงเชื่อมโยงติดต่อกัน ฤดูน้ำหลากมักประสบปัญหาน้ำท่วมเกือบทุกปี
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
มีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้นอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ประกอบด้วย ฤดูฝน ฤดูหนาวและฤดูร้อน เนื่องจากลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มมีความแตกต่างของระดับพื้นดินเพียงเล็กน้อย สภาพภูมิอากาศจึงมีลักษณะค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 25 °c และอุณหภูมิ 38°c
1.4 ลักษณะของดิน
ลักษณะการใช้ที่ดินภายในพื้นที่เทศบาลเมืองบางบัวทอง สามารถแบ่งตามลักษณะกลุ่มแยกประเภท ของดิน GREAT GROUP ได้ 3 กลุ่ม คือ ดินชุดบางกอก ดินชุดบางเขน ดินชุดธนบุรี ซึ่งมีความเหมาะสมสำหรับเพาะปลูกพืชต่างๆ และสวนผลไม้ เช่น มะม่วง กล้วย ทุเรียน กระท้อน ส้ม มังคุด ฯลฯ รวมทั้งไม้ดอกไม้ประดับ เทศบาลเมืองบางบัวทอง มีเนื้อที่ทั้งหมด 9,800 ไร่ จำแนกลักษณะการใช้ที่ดิน ประเภทต่างๆ ในเขตพื้นที่โดยประมาณ ได้ดังนี้
พื้นที่เกษตรกรรม 640 ไร่
พื้นที่พักอาศัย 6,500 ไร่ พื้นที่พาณิชยกรรม 940 ไร่ พื้นที่ตั้งหน่วยงานของรัฐ 280 ไร่ |
พื้นที่ตั้งสถานศึกษา 320 ไร่
พื้นที่สวนสาธารณะ/นันทนาการ 490 ไร่ พื้นที่ว่าง 495 ไร่ พื้นที่อุตสาหกรรม 135 ไร่ |
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
เทศบาลเมืองบางบัวทอง มีลำคลองที่ใช้ในการสัญจรไปมาและทำการเกษตร ภายในชุมชน และระหว่างชุมชนใกล้เคียง จำนวน ๑๓ สาย แบ่งออกเป็น
คลองสายหลัก จำนวน 1 สาย ได้แก่ 1. คลองพระพิมล
คลองสายย่อย จำนวน ๑๒ คลอง ได้แก่ 1. คลองผู้ใหญ่จง 2. คลองบ้านกล้วย 3. คลองบางไผ่ 4. คลองงิ้วค่อม 5. คลองถนน 6. คลองบางพลู 7. คลองตะเคียน 8. คลองใหญ่ 9. คลองบ้านกลางคอน 10. คลองสามวัง 11. คลองเขมร 12. คลองขวางศาลา
2. ด้านการเมืองการปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
เทศบาลเมืองบางบัวทอง จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา กำหนดท้องที่บางส่วนของตำบล บางบัวทอง และตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ให้มีฐานะเป็นเทศบาลเมือง เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2480 มีอาณาเขต 1 ตารางกิโลเมตร และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมือง บางบัวทอง ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 112 ตอนที่ 22 ก. ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2538 ขยายอาณาเขตเป็น 13.5 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 5 ตำบล 19 หมู่บ้าน 63 ชุมชน ได้แก่
ตำบลโสนลอย หมู่ที่ 1 - 5ตำบลบางบัวทอง หมู่ที่ 1,2,3 บางส่วน
ตำบลพิมลราช หมู่ที่ 1,2,3 บางส่วน
ตำบลบางรักพัฒนา หมู่ที่ 1,3,5,6 บางส่วน
ตำบลบางรักใหญ่ หมู่ที่ 1,2,6,7 บางส่วน
2.2 การเลือกตั้ง
เทศบาลเมืองบางบัวทอง มีเขตเลือกตั้ง 3 เขตและหน่วยเลือกตั้งทั้งหมด 58 หน่วย ดังนี้
ตำบลโสนลอย มีหน่วยเลือกตั้ง 13 หน่วยตำบลบางบัวทอง มีหน่วยเลือกตั้ง 8 หน่วย
ตำบลพิมลราช มีหน่วยเลือกตั้ง 5 หน่วย
ตำบลบางรักพัฒนา มีหน่วยเลือกตั้ง 28 หน่วย
ตำบลบางรักใหญ่ มีหน่วยเลือกตั้ง 5 หน่วย
จำนวนประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
จำนวนประชากร (คน) | ชาย | หญิง | รวม |
ตำบลโสนลอย (หมู่ 1-5) | 3,195 | 3,854 | 7,049 |
ตำบลบางบัวทอง (หมู่1,2,3บางส่วน) | 2,665 | 3,254 | 5,919 |
ตำบลพิมลราช(หมู่ 1,2,3 บางส่วน) | 1,747 | 2,214 | 3,961 |
ตำบลบางรักพัฒนา (หมู่ 1,3,5,6 บางส่วน) | 9,367 | 11,644 | 21,011 |
ตำบลบางรักใหญ่ (หมู่ 1,2,6,7 บางส่วน) | 1,233 | 1,554 | 2,787 |
รวม | 18,207 | 22,520 | 40,727 |
3. ประชากร

3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
เทศบาลเมืองบางบัวทอง มีประชากรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร์ ณ วันที่ 30 เมษายน 2562 ตามประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง รวมทั้งสิ้น 50,495 คน เป็นชาย 23,225 คน เป็นหญิง 27,270 คน ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย 3,735 คน/ตารางกิโลเมตร จำนวนครัวเรือน 25,269 ครัวเรือน (หลัง) ทั้งนี้ยังไม่รวมประชากรแฝงอีกประมาณ 10,418 คน
ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับจำนวนประชากรของเทศบาลเมืองบางบัวทอง ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2562
จำนวนประชากรแยกสถานะของบุคคล/สัญชาติ | ชาย | หญิง | รวม |
1. ผู้ที่มีสัญชาติไทย | 23,376 | 27,367 | 50,743 |
2. ผู้ที่มีสัญชาติจีน | 53 | 38 | 95 |
3. ผู้ที่มีสัญชาติอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ไทย | 307 | 244 | 551 |
4. ผู้ที่มีสัญชาติอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ไทย/จีน | 250 | 206 | 456 |
5. ทุกสัญชาติ | 23,683 | 27,611 | 51,294 |
ตารางเปรียบเทียบจำนวนประชากร
แยกตามรายพื้นที่ประเภทตำบล | พ.ศ.2562 | พ.ศ.2561 | พ.ศ.2560 | |||
ชาย | หญิง | ชาย | หญิง | ชาย | หญิง | |
โสนลอย | 4,148 | 4,654 | 4,138 | 4,707 | 4,135 | 4,774 |
บางบัวทอง | 3,501 | 4,028 | 3,504 | 4,033 | 3,487 | 4,073 |
พิมลราช | 2,201 | 2,645 | 2,204 | 2,641 | 2,206 | 2,607 |
บางรักพัฒนา | 11,780 | 14,061 | 11,713 | 13,942 | 11,488 | 13,737 |
บางรักใหญ่ | 1,595 | 1,885 | 1,579 | 1,860 | 1,559 | 1,844 |
รวม | 23,225 | 27,270 | 23,138 | 27,183 | 22,875 | 27,035 |
รวมทั้งหมด | 50,495 | 50,321 | 49,910 |
แยกตามจำนวนครัวเรือน
จำนวนครัวเรือน (หลัง) | พ.ศ.2562 | พ.ศ.2561 | พ.ศ.2560 |
ตำบลโสนลอย | 4,900 | 4,618 | 4,530 |
ตำบลบางบัวทอง | 7,075 | 6,828 | 6,263 |
ตำบลพิมลราช | 9,252 | 9,034 | 8,603 |
ตำบลบางรักพัฒนา | 21,227 | 20,480 | 19,981 |
ตำบลบางรักใหญ่ | 21,227 | 20,480 | 19,981 |
รวม | 21,227 | 20,480 | 19,981 |
3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร
จำนวนประชากรแยกตามเกณฑ์อายุ | ชาย | หญิง | รวม |
1. เป็นบุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้ง อายุ 15 ปี | 15,288 | 18,805 | 34,093 |
2. เป็นบุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้ง อายุ 18 ปี | 14,531 | 17,988 | 32,519 |
3. เป็นบุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้ง อายุ 20 ปี | 14,531 | 17,988 | 32,519 |
4. เป็นบุคคลที่ต้องขึ้นทะเบียนทหาร | 236 | 0 | 236 |
5. เป็นบุคคลที่ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร | 257 | 0 | 257 |
จำนวนประชากรแยกตามช่วงอายุ (เฉพาะผู้มีสัญชาติไทย)
ช่วยอายุ (ปี) | ชาย (ปี) | หญิง (ปี) | รวม (ปี) |
อายุน้อยกว่า 1 ปี | 214 | 177 | 391 |
อายุ 1 ปี | 200 | 206 | 406 |
อายุ 2 ปี | 232 | 207 | 439 |
อายุ 3 ปี | 243 | 219 | 462 |
อายุ 4 ปี | 240 | 226 | 466 |
อายุ 5 ปี | 233 | 237 | 470 |
อายุ 6 ปี | 294 | 309 | 603 |
อายุ 7 ปี | 297 | 272 | 569 |
อายุ 8 ปี | 261 | 279 | 540 |
อายุ 9 ปี | 295 | 272 | 567 |
อายุ 10 ปี | 302 | 278 | 580 |
อายุ 11 ปี | 274 | 261 | 535 |
อายุ 12 ปี | 279 | 278 | 557 |
อายุ 13 ปี | 287 | 263 | 550 |
อายุ 14 ปี | 277 | 284 | 561 |
อายุ 15 ปี | 283 | 297 | 580 |
อายุ 16 ปี | 299 | 294 | 593 |
อายุ 17 ปี | 264 | 277 | 541 |
อายุ 18 ปี | 281 | 310 | 591 |
อายุ 19 ปี | 313 | 278 | 591 |
อายุ 20 ปี | 306 | 298 | 604 |
อายุ 21 ปี | 295 | 351 | 646 |
อายุ 22 ปี | 356 | 339 | 695 |
อายุ 23 ปี | 324 | 370 | 694 |
อายุ 24 ปี | 377 | 391 | 768 |
อายุ 25 ปี | 329 | 364 | 693 |
อายุ 26 ปี | 343 | 390 | 733 |
อายุ 27 ปี | 359 | 377 | 736 |
อายุ 28 ปี | 346 | 372 | 718 |
อายุ 29 ปี | 333 | 363 | 696 |
อายุ 30 ปี | 319 | 375 | 694 |
อายุ 31 ปี | 283 | 339 | 621 |
อายุ 32 ปี | 321 | 328 | 649 |
อายุ 33 ปี | 327 | 362 | 689 |
อายุ 34 ปี | 304 | 382 | 686 |
อายุ 35 ปี | 33 | 371 | 704 |
อายุ 36 ปี | 363 | 428 | 791 |
อายุ 37 ปี | 387 | 432 | 819 |
อายุ 38 ปี | 381 | 473 | 854 |
อายุ 39 ปี | 343 | 474 | 817 |
อายุ 40 ปี | 382 | 463 | 845 |
อายุ 41 ปี | 371 | 442 | 813 |
อายุ 42 ปี | 404 | 476 | 880 |
อายุ 43 ปี | 364 | 409 | 773 |
อายุ 44 ปี | 349 | 466 | 815 |
อายุ 45 ปี | 335 | 402 | 737 |
อายุ 46 ปี | 369 | 462 | 831 |
อายุ 47 ปี | 376 | 465 | 841 |
อายุ 48 ปี | 369 | 479 | 848 |
อายุ 49 ปี | 360 | 458 | 818 |
อายุ 50 ปี | 422 | 510 | 932 |
อายุ 51 ปี | 398 | 536 | 934 |
อายุ 52 ปี | 388 | 471 | 859 |
อายุ 53 ปี | 395 | 511 | 906 |
อายุ 54 ปี | 452 | 532 | 984 |
อายุ 55 ปี | 392 | 484 | 876 |
อายุ 56 ปี | 354 | 496 | 850 |
อายุ 57 ปี | 347 | 463 | 810 |
อายุ 58 ปี | 381 | 471 | 852 |
อายุ 59 ปี | 358 | 452 | 810 |
อายุ 60 ปี | 341 | 382 | 723 |
อายุ 61 ปี | 293 | 368 | 661 |
อายุ 62 ปี | 290 | 381 | 671 |
อายุ 63 ปี | 292 | 308 | 600 |
อายุ 64 ปี | 231 | 312 | 543 |
อายุ 65 ปี | 199 | 287 | 486 |
อายุ 66 ปี | 209 | 266 | 475 |
อายุ 67 ปี | 190 | 277 | 467 |
อายุ 68 ปี | 175 | 236 | 411 |
อายุ 69 ปี | 172 | 228 | 400 |
อายุ 70 ปี | 134 | 194 | 328 |
อายุ 71 ปี | 125 | 127 | 252 |
อายุ 72 ปี | 95 | 169 | 264 |
อายุ 73 ปี | 101 | 153 | 254 |
อายุ 74 ปี | 72 | 123 | 195 |
อายุ 75 ปี | 74 | 108 | 182 |
อายุ 76 ปี | 72 | 111 | 183 |
อายุ 77 ปี | 82 | 133 | 215 |
อายุ 78 ปี | 62 | 121 | 183 |
อายุ 79 ปี | 58 | 91 | 149 |
อายุ 80 ปี | 65 | 106 | 171 |
อายุ 81 ปี | 51 | 93 | 144 |
อายุ 82 ปี | 50 | 78 | 126 |
อายุ 83 ปี | 47 | 70 | 117 |
อายุ 84 ปี | 49 | 77 | 126 |
อายุ 85 ปี | 33 | 56 | 89 |
อายุ 86 ปี | 26 | 46 | 72 |
อายุ 87 ปี | 26 | 41 | 67 |
อายุ 88 ปี | 20 | 36 | 56 |
อายุ 89 ปี | 17 | 26 | 43 |
อายุ 90 ปี | 11 | 25 | 36 |
อายุ 91 ปี | 12 | 30 | 42 |
อายุ 92 ปี | 8 | 13 | 21 |
อายุ 93 ปี | 4 | 8 | 12 |
อายุ 94 ปี | 6 | 10 | 16 |
อายุ 95 ปี | 7 | 7 | 14 |
อายุ 96 ปี | 6 | 5 | 11 |
อายุ 97 ปี | 1 | 2 | 3 |
อายุ 98 ปี | 0 | 3 | 3 |
อายุ 99 ปี | 3 | 2 | 5 |
อายุ 100 ปี | 1 | 3 | 4 |
อายุมากกว่า 100 ปี | 3 | 7 | 10 |
เกิดปีไทย | 0 | 0 | 0 |
รวม | 23,376 | 27,367 | 50,743 |
4. สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
เทศบาลเมืองบางบัวทองมีสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลฯ แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้โรงเรียนสังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่
โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดบางไผ่ พระอารามหลวง
โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดบรมราชากาญจนภิเษกอนุสรณ์
โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดละหาร
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 จำนวน ๒ แห่ง
โรงเรียนชุมชนไมตรีอุทิศ
โรงเรียนชุมชนวัดบางไผ่
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี เขต ๓ จำนวน ๑ แห่ง
โรงเรียนบางบัวทอง
โรงเรียนสังกัดสำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สพฐ.) จำนวน 2 แห่ง
โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนนทบุรี
ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนนทบุรี
โรงเรียนสังกัดสำนักงานบริหารคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน ๑๒ แห่ง
โรงเรียนจิรดา
โรงเรียนดรุณวิทย์ศึกษา
โรงเรียนนันทนวรวิทย์
โรงเรียนบางบัวทองราษฎรบำรุง
โรงเรียนปิยฉัตร
โรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์
โรงเรียนพึงรำลึก
โรงเรียนศิริมงคลศึกษา
โรงเรียนอนุบาลจตุพร
โรงเรียนพิชาดา
โรงเรียนอนุบาลรุ้งพชร
โรงเรียนอนุบาลเลิศวินิต
โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาเอกชน จำนวน ๒ แห่ง
วิทยาลัยอาชีวศึกษาดุสิตพณิชยการนนทบุรี
วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการบางบัวทอง
โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองบางบัวทอง จำนวน 4 แห่ง ดังนี้
จำนวนนักเรียน (คน) | ||||||
สังกัด / ชื่อโรงเรียน | จำนวนห้องเรียน | ก่อนประถม | ประถม | มัธยมต้น | มัธยมปลาย | รวม |
โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองบางบัวทอง 1.โรงเรียนเทศบาลวัดละหาร |
45 |
259 |
927 |
1,186 |
||
2. โรงเรียนนนท์ประสิทธิ์วิทยา | 11 | 239 | 85 | 324 | ||
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลเมืองบางบัวทอง 1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองบางบัวทองวัดบางไผ่ |
5 |
140 |
140 |
|||
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองบางบัวทอง ชุมชนเอื้ออาทร | 1 | 40 | 40 |
(ที่มา สำนักการศึกษา เดือนพฤศจิกายน 2561)
4.2 สาธารณสุข
เทศบาลเมืองบางบัวทอง มีสถานพยาบาล ประกอบด้วยโรงพยาบาลรัฐบาล จำนวน 1 แห่ง ได้แก่
- โรงพยาบาลบางบัวทอง ขนาดเตียงคนไข้ 60 เตียง ภายใน 4 ปี ทางโรงพยาบาลบางบัวทองจะมีการพัฒนาให้มี จำนวน 200 เตียง
โรงพยาบาลเอกชน จำนวน 1 แห่ง ได้แก่
- โรงพยาบาลชลลดา ขนาดเตียงคนไข้ 30 เตียง
ศูนย์บริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่
- ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองบางบัวทอง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ วัดบางไผ่
คลินิกเวชกรรม จำนวน ๑๖ แห่ง
คลินิกทันตกรรม จำนวน ๑๔ แห่ง
นวดแผนไทยที่ได้มาตรฐาน จำนวน 1 แห่ง ได้แก่
- โรงพยาบาลบางบัวทอง
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน ๒๑๗ คน แยกเป็น
- เขตเลือกตั้งที่ 1 จำนวน ๗๒ คน
- เขตเลือกตั้งที่ 2 จำนวน ๘๙ คน
- เขตเลือกตั้งที่ 3 จำนวน ๕๖ คน
(ที่มา กองสาธารณสุขฯ เดือนพฤษภาคม 2562 )
4.3 การสังคมสงเคราะห์
เทศบาลเมืองบางบัวทอง ได้จัดการสงเคราะห์แก่ผู้มารับบริการ
แก้ไขปัญหาทางสังคมและพัฒนาสังคมเพื่อช่วยให้ผู้มารับบริการสามารถช่วยเหลือตนเองและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ได้แก่
1. งานจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยเอดส์
2. ให้ความรู้ความเข้าใจกับเด็กและเยาวชนเรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติดและให้ความรู้ในเรื่องเพศสัมพันธ์
3. สงเคราะห์และบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ประสบปัญหาทุกข์ยาก
4. พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์
5. การเยี่ยมบ้านผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้การช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อน
สวัสดิการ
ปีงบประมาณ | ผู้สูงอายุ | ผู้พิการ | ผู้ป่วย |
พ.ศ.2559 | 3,309 ราย 2,178,700 บาท |
310 ราย 155,000 บาท |
30 ราย 15,000 บาท |
พ.ศ.2560 | 3,573 ราย 2,348,400 บาท |
327 ราย 261,600 บาท |
30 ราย 15,000 บาท |
พ.ศ.2561 | 3,869 ราย 2,547,300 บาท |
353 ราย 282,400 บาท |
34 ราย 17,000 บาท |
5. ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง
การคมนาคมของเทศบาลเมืองบางบัวทอง มีเส้นทางหลักสำคัญๆ เชื่อมต่อกรุงเทพมหานคร จังหวัด อำเภอต่างๆ ได้แก่ทางหลวงแผ่นดิน (ถนนสายหลัก)
1. ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ยาวประมาณ 6.5 กิโลเมตร
2. ถนนกาญจนาภิเษก ยาวประมาณ 3.5 กิโลเมตร
3. ถนนรัตนาธิเบศร์ ยาวประมาณ 2.5 กิโลเมตร
ทางหลวงท้องถิ่น (ถนนสาธารณะ) ในเขตเทศบาลฯ มีทั้งสิ้น 32 สาย ดังรายการตามนี้
(ที่มา กองช่าง ณ เดือนพฤษภาคม 2562)
บัญชีรายชื่อถนนสาธารณะในเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง
ลำดับที่ | ชื่อถนน | หมู่ที่/ตำบล | ลักษณะ/ขนาด | ทางระบายน้ำ | หมายเหตุ | ||||
ค.ส.ล/.ยาว/กม. | ลาดยาง.ยาว/กม | หนา (ม.) | กว้าง (ม.) | มี | ไม่มี | ||||
1 | ชุมชนคลองผู้ใหญ่จร | ม.3 ต.บางบัวทอง | - | 0.339 | 0.05 | 6.00 | - | / | |
2 | บ้านกล้วย-ไทรน้อย | ม.3 ต.พิมลราช | - | 0.498 | 0.05 | 8.00 | - | / | |
3 | ถนนเทศบาล 2 (ข้างเทศบาล) | ม.2 ต.โสนลอย | 0.288 | - | 0.20 | 12.60 | / | - | |
4 | เทศบาล 3 (ตลาดสด) | ม.5 ต.โสนลอย | 0.402 | - | 0.20 | 7.26 | / | - | |
5 | เทศบาล 4 (ทางเข้าวัดละหาร) | ม.2 ต.โสนลอย | 0.316 | - | 0.20 | 7.00 | / | - | |
6 | เทศบาล 5 (คลองเขมร) | ม.6 ต.โสนลอย | 0.443 | - | 0.20 | 6.50 | / | - | |
7 | เทศบาล 6 (ทางเข้า รพ.บางบัวทอง) | ม.3 ต.โสนลอย | - | 0.621 | 0.05 | 10.00 | / | - | |
8 | เทศบาล 7 (ซอยอารีย์) | ม.4 ต.โสนลอย | - | 0.743 | 0.05 | 6.65 | / | - | |
9 | เทศบาล 8 (ข้างธนาคารออมสิน) | ม.2 ต.โสนลอย | - | 0.374 | 0.05 | 4.90 | / | - | |
10 | เทศบาล 9 (ข้างปั๊ม ป.ต.ท.) | ม.4 ต.โสนลอย | - | 1.405 | 0.05 | 14.60 | / | - | |
11 | เทศบาล 11 (โรงรับจำนำ) | ม.5 ต.โสนลอย | - | 1.606 | 0.05 | 6.80 | / | - | |
12 | เทศบาล 13 (ส้วมสาธารณะ) | ม.5 ต.โสนลอย | - | 0.319 | 0.05 | 7.10 | / | - | |
13 | เทศบาล 15 (สวนสาธารณะ) | ม.4 ต.โสนลอย | 0.626 | - | 0.20 | 6.90 | / | - | |
14 | เทศบาล 17 (โชคชัยแมนชั่น) | ม.5 ต.โสนลอย | 0.406 | - | 0.20 | 6.40 | / | - | |
15 | เต็มรัก-วัดลาดปลาดุก | ม.6 ต.บางรักพัฒนา | 0.400 | - | 0.20 | 15.70 | / | - | |
16 | ซอยเทศบาล 19 (ศรีคิรินทร์) | ม.4 ต.โสนลอย | - | 0.704 | 0.05 | 7.20 | / | - | |
17 | ซอยศาลต้นโพธิ์ | ม.3 ต.บางรักพัฒนา | - | 0.180 | 0.05 | 5.00 | / | - | |
18 | ซอยเทศบาล 1 (วัดบางไผ่) | ม.3 ต.บางรักพัฒนา | 0.262 | - | 0.20 | 7.50> | / | - | |
19 | ซอยเทศบาล 17 (ตรงข้ามเทศบาล๒) | ม.4 ต.โสนลอย | 0.126 | - | 0.20 | 3.20 | / | - | |
20 | ซอยเทศบาล 3 (ซอยอัศวิน 1) | ม.3 ต.บางรักพัฒนา | - | 0.100 | 0.05 | 5.00 | / | - | |
21 | ซอยเทศบาล 15 (ซอยประเสริฐ) | ม.4 ต.โสนลอย | 0.278 | - | 0.20 | 4.90 | / | - | |
22 | ซอยเทศบาล 5 (ซอยอัศวิน 2) | ม.3 ต.บางรักพัฒนา | - | 0.153 | 0.06 | 5.00 | / | - | |
23 | ซอยเทศบาล 2 (หมู่บ้านดวงทอง) | ม.3 ต.บางรักพัฒนา ม.6 ต.บางรักใหญ่ ม.2 ต.บางรักใหญ่ | 1.271 | - | 0.20 | 7.00 | / | - | |
24 | ซอยเทศบาล 7 (ซอยอัศวิน 1) | ม.3 ต.บางรักพัฒนา | - | 0.169 | 0.05 | 5.00 | / | - | |
25 | ซอยเทศบาล 4 (หมู่บ้านหงส์ประยูร) | ม.3 ต.บางรักพัฒนา ม.1 ต.บางรักพัฒนา | 0.979 | - | 0.20 | 7.00 | / | - | |
26 | ซอยเทศบาล 6 (จัดสรรจุรินทร์) | ม.3 ต.บางรักพัฒนา ม.1 ต.บางรักพัฒนา ม.2 ต.บางรักใหญ่ | 2.194 | - | 0.20 | 7.00 | / | - | |
27 | ซอยเทศบาล 8 (ไมตรีอุทิศ) | ม.1 ต.บางรักพัฒนา | - | 0.363 | 0.05 | 5.50 | / | - | |
28 | ซอยเทศบาล 9 (ร่มโพธิ์ทอง 2) | ม.3 ต.บางรักพัฒนา | 0.976 | - | 0.20 | 5.00 | / | - | |
29 | ซอยเทศบาล 11 (จันทร์ทองเอี่ยม) | ม.3 ต.บางรักพัฒนา | - | 1.133 | 0.05 | 10.50 | / | - | |
30 | ซอยเทศบาล 11/1 (คลองงิ้วคล่อม) | ม.3 ต.บางรักพัฒนา | 0.951 | - | 0.20 | 4.50 | - | / | |
31 | ซอยเทศบาล 11/2 (บ้านกลางดอน) | ม.3 ต.บางรักใหญ่ | - | 1.740 | 0.05 | 6.40 | - | / | |
32 | ซอยเทศบาล 11/4 (บ้านผู้ใหญ่เป้า) | ม.3 ต.บางรักพัฒนา | 0.797 | 0.20 | 5.00 | - | / | ||
10.715 | 10.447 |
5.2 การไฟฟ้า
หน่วยงานซึ่งให้บริการไฟฟ้าแก่ประชาชนในเขตเทศบาลได้แก่การไฟฟ้านครหลวงเขตบางใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ถนนบางกรวย–ไทรน้อย อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี โดยได้รับกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศในปัจจุบันทุกหมู่บ้านมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือนนอกจากนี้ยังมีการให้บริการไฟฟ้าเพื่อแสงสว่างใน ที่สาธารณะและบริเวณถนนต่างๆ ในเขตเทศบาล เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในการสัญจรไปมาในเวลากลางคืนครอบคลุม ทั้งหมดในพื้นที่เทศบาล
5.3 การประปา
หน่วยงานที่ให้บริการน้ำประปาแก่ประชาชนที่อาศัยในเขตเทศบาลเมืองบางบัวทองได้แก่สำนักการประปาสาขาบางบัวทอง เป็นหน่วยงานสังกัดการประปานครหลวง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองบางบัวทอง พื้นที่ความรับผิดชอบ ๓๔๑.๗๘ ตร.กม. เป็นพื้นที่จ่ายน้ำ ๑๓.๕ ตร.กม.
5.4 โทรศัพท์
สำนักงานติดตั้งและบำรุงรักษา ที่ 4.1 (7 ) บริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) ให้บริการโทรศัพท์กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่งและวัสดุ ครุภัณฑ์
ที่ทำการไปรษณีย์ที่อยู่ในเขตและใกล้เขตพื้นที่เทศบาลเมืองบางบัวทอง มี 3 แห่ง ได้แก่
(1) ไปรษณีย์บางบัวทอง ตั้งอยู่ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
(2) ไปรษณีย์บางใหญ่ ตั้งอยู่ตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
(3) ไปรษณีย์บางกรวย ตั้งอยู่ หมู่ 1 ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลวัดชะลอ
อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
6. ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
พื้นที่ทำนา ประมาณ 215 ไร่ ผลผลิตข้าว ประมาณ 169/ต่อปีพื้นที่ทำสวน ประมาณ 384 ไร่
- สวนผัก ได้แก่ ผักกาดหอม คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้งจีน เป็นต้น
- สวนผลไม้ เช่น มะม่วง กล้วย ทุเรียน เป็นต้น
6.2 การประมง (ในเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง ไม่มีการประมง)
6.3 การปศุสัตว์ เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือน เช่น เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ ไว้สำหรับบริโภคในครัวเรือนเท่านั้น
6.4 การบริการ
ประเภท | พ.ศ. 2562 (แห่ง) | พ.ศ. 2561 (แห่ง) | พ.ศ. 2560 (แห่ง) |
ธนาคาร บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร้านค้า สถานีบริการน้ำมัน ศูนย์การค้า / ห้างสรรพสินค้า ตลาดสด (ประเภท 1) ตลาดสด (ประเภท 2) โรงแรม สถานที่จำหน่ายอาหารตาม พรบ.สาธารณสุข |
9 76 23 103 9 3 1 4 2 139 |
9 62 18 103 9 2 1 4 1 120 |
9 58 10 103 9 2 1 4 1 120 |
6.5 การท่องเที่ยว
เทศบาลเมืองบางบัวทอง มีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆได้แก่1. วัดบรมราชากาญจนาภิเษกนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์
หรือวัดเล่งเน่ยยี่ 2 ซึ่งมีความสวยงามวิจิตรตระการตา ท้าทายให้ผู้ที่ทราบกิตติศัพท์ต้องมาเยี่ยมเยือน ภายในมีการก่อสร้างตามแบบศิลปะจีนโบราณ โดยเฉพาะพุทธศิลป์ สมัยราชวงศ์หมิงชิง และพระ 3 องค์ คือ พระศรีศากยมุนี พระอมิตาภพุทธ ระไกษัชยคุรุพุทธเจ้า ซึ่งสร้างถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา
2. วัดบางไผ่ (พระอารามหลวง)
วัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวบางบัวทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีพระพุทธรูปเก่าแก่ที่ประชาชนเลื่อมใสศรัทธามากที่สุด คือหลวงพ่อทอง พระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัย ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวง เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2549
3. วัดละหาร
เป็นวัดที่เก่าแก่ สร้างมานานกว่า 200 ปี แต่เดิมนั้นมีชื่อว่า “วัดราชบัญหาร” บริเวณลานวัดจะพบกับรูปปั้นองค์พระฉิมพลีสิวลี พระอัครสาวกองค์หนึ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีขนาดองค์ใหญ่เป็นจุดเด่นของวัดที่ใครได้เห็นก็ยากจะลืมเลือน ส่วนองค์พระของวัดคือ หลวงพ่อพระป่าเลไลย์ หรือสมเด็จพระป่าเลไลย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของชาวบางบัวทอง รวมทั้งศูนย์ปฏิบัติธรรมที่รอคอยทุกท่านเข้ามาสัมผัสและร่วมทำบุญ ด้วยการ ปล่อยนก ปล่อยปลา ฯลฯ เพื่อสร้างบุญ กุศล และบารมี
4. วัดพระแม่สกลสงเคราะห์
มหากางเขนสีขาวบริสุทธิ์สูงเด่นเป็นสง่า เป็นเครื่องหมายแทนองค์พระผู้ไถ่บาปแก่มวลมนุษย์ เป็นสัญลักษณ์แห่งความศรัทธาในองค์พระเป็นเจ้าของพี่น้องชาวคาทอลิก ภายในประกอบด้วยถ้ำพระแม่ทางด้านหลังของวัดและซุ้มพระแม่ที่ประตูทางเข้าวัด ประตูศาลาพระแม่ฯ รวมทั้งอนุสาวรีย์พระแม่สกลสงเคราะห์ ซึ่งเป็นองค์อุปถัมภ์หน้าลานเคารพธงชาติ ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ในการประกอบพิธีมิสซาและโรงเรียนระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษา
5. มัสยิดอับดุลลานุสรณ์
เสียงอะซานขานขับดังกังวานแว่วมาจากมัสยิด เป็นสิ่งที่คุ้นเคยกันดีของชาวบางบัวทอง เช่นเดียวกับ“ยอดโดม ดวงดาว และเสี้ยวเดือน” แห่งมัสยิดอับดุลลานุสรณ์ ที่ยังคงความเข้มขรึมตัดกับแผ่นฟ้าสีครามสัญลักษณ์แห่งความศรัทธาและความสันติสุข มัสยิดแห่งนี้จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวมุสลิม ทั้งในเขตบางบัวทองและบริเวณใกล้เคียง ซึ่งก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2504 เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับทำการนมัสการละหมาด และใช้เป็นโรงเรียนสอนศาสนา
6. ศาลเจ้าพ่อจุ้ย แหล่งรวมจิตใจของชาวบางบัวทองและบริเวณใกล้เคียง “ประเพณีแห่เจ้าพ่อจุ้ย” จึงกลายเป็นประเพณีที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับชาวบางบัวทอง ซึ่งในแต่ละปีจะมีประชาชนสวมใส่เสื้อผ้าหรือแต่งกายด้วยชุดสีแดงร่วมเดินขบวนแห่เจ้าพ่อจุ้ย เพื่อแสดงถึงความเคารพและศรัทธาต่อเจ้าพ่อ
6.6 อุตสาหกรรม
การดำเนินกิจการอุตสาหกรรมในเขตเทศบาลเมืองบางบัวทองดังนี้
1. จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จำนวน 3 แห่ง (มีคนงาน ตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป จำนวนทรัพย์สินเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป)
2. จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง จำนวน 1๔๒ แห่ง (มีคนงานตั้งแต่ 10–149 คน จำนวนทรัพย์สิน ตั้งแต่ 10 – 50 ล้านบาท)
3. กิจการอุตสาหกรรมที่สำคัญคืออุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมเสื้อผ้า อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมน้ำดื่ม- น้ำแข็งอุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมอลูมิเนียม อุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นต้น
6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
ลักษณะของการประกอบอาชีพของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง จำแนกประเภทได้ดังนี้
1. รับราชการ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ
2. เกษตรกรรม
3. พนักงานรัฐวิสาหกิจ
4. พนักงานบริษัท
5. รับจ้างทั่วไป
6. ค้าขาย
7. ธุรกิจส่วนตัว
8. อาชีพอื่น (นอกจากที่กล่าวแล้ว)
ทั้งนี้ เทศบาลเมืองบางบัวทอง โดยกองสวัสดิการสังคม ได้ส่งเสริมและสนับสนุนอาชีพให้กับชุมชน คนว่างงานและผู้สนใจ โดยในพื้นที่มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพและวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนมีกิจกรรมทำร่วมกัน มีอาชีพมีรายได้ในการผลิตสินค้า OTOP ที่หลากหลาย ได้แก่ สินค้าประเภทอาหาร วัสดุที่ทำจากผ้า เครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่ง ศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก เช่น
สินค้า OTOP จำนวน 5 รายการลำดับที่ | ชื่อผลิตภัณฑ์ | ชื่อผู้ประกอบการ | ที่อยู่ | หมายเหตุ |
1 | ซาลาเปานมแพะใส้ไก่ผสมกุ้ง | มาเรียนติ่มซำ | 14/10 ม.12 ต.บางบัวทอง | |
2 | ชุดน้ำชายามบ่าย | นางสารินี ฐานประเสริญฤทธิ์ | 300/328 ม.3 ต.บางรักพัฒนา | |
3 | ผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์จากผ้า | นางสาวดารารัตน์ ธเนศวาณิชย์ | 205/11 ซ.8 ต.บางรักพัฒนา | |
4 | งานประดิษฐ์จากผ้า | บริษัทหมาเจ็บ ด๊อก กูดส์ ซ๊อป | 333/83 ม.3 ต.บางรักพัฒนา | |
5 | สบู่ก้อนสมุนไพรไหมทอง | หจก.มิลเลนเนียม บิชิเนส | 33/39 ม.4 ซ.เทศบาล 1 ต.โสนลอย |
ลำดับที่ | ชื่อกลุ่ม | ประเภทกิจการ | ที่อยู่ | หมายเหตุ |
1 | เครื่องประดับแฮนด์เมด | เครื่องประดับ / อัญมีณี | 243/5 ม.4 ต.บางบัวทอง | |
2 | ไตรลักษณ์ | ของใช้พระ | 7 ม.5 ต.โสนลอย | |
3 | เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก ซ.บางรักพัฒนา | ผักสลัด ชะอม ผักหวาน บวบ ฟักเขียว มะเขือ ผักบุ้ง | 5 ม.6 ต.บางรักพัฒนา | |
4 | บ้านมั่นคงบางบัวทอง | ไก่ย่าง ขนมจีนทะเล ไอศรีม นมสด | 187 ม.3 ต.โสนลอย | |
5 | หงส์ประยูร 1 | หมูแดดเดียว หมูกระเทียม หมูย่าง | 189/41 ม.1 ต.บางรักพัฒนา | |
6 | แทนคุณแผ่นดิน | ผลไม้ชนิดต่างๆ ดอง น้ำปลาหวาน กะปิหวาน ข้าวเหนียวมูล | 21/51 ม.5 ต.โสนลอย |
ลำดับที่ | ประเภท | ชื่อกลุ่ม | ชุมชน | หมายเหตุ | ||
1 | อาหาร | เด่นซาลาเปา | บัวทองแฟคทอรี่ | |||
2 | อาหาร | กลุ่มส่งเสริมอาชีพวัดละหาร (น้ำพริก) | วัดละหาร | |||
3 | อาหาร | กลุ่มอาชีพการผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเนเจอร์ริช | วัดละหาร | |||
4 | อาหาร | กลุ่มปาท่องโก๋ | จันทิมา | |||
5 | ของใช้ | อาชีพบัวบุศย์พุทธชาด (ผลิตภัณฑ์ผ้าแก้วฐานพระพุทธรูป) | พุทธชาด | |||
6 | ของใช้ | พับเหรียญโปรยทาน | เอื้ออาทร | |||
7 | ของใช้ | อาชีพน้ำยาล้างจาน | ดวงทอง | |||
8 | ของใช้ | การทำผ้าบาติก | บุษกร - รติยา | |||
9 | งานเป่าแก้ว | จันทิมา | ||||
10 | กล้วยไม้กระถาง | ม.5 โสนลอย | ||||
11 | สมุนไพร | ทอผัน (สบู่สมุนไพร, น้ำมันมะรุม, ยาหม่อง) | หงส์ประยูร 1 | |||
12 | สมุนไพร | พีเคกรีน (สเปรย์ลายกลิ่น , จุลินทร์ผง) | ภัสสร 7 | |||
13 | สมุนไพร | มิ่งโสภา (ครีมอาบน้ำ , แชมพูสมุนไพร , อาหารบำรุงเส้นผม) | ไมตรีอุทิศ |
ประชากรในเขตเทศบาลเมืองบางบัวทองส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพรับราชการ/เจ้าหน้าที่ของรัฐเกษตรกรรม พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัท รับจ้างทั่วไป ค้าขาย ประกอบธุรกิจส่วนตัว และอาชีพอื่นๆ นอกจากที่กล่าวแล้ว
7. ศาสนศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
7.1 การนับถือศาสนา
ผู้นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 9๐.๗๘ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาลฯ มีวัด จำนวน ๔ วัด แยกตามรายตำบล ได้ดังนี้ตำบลโสนลอย วัดละหาร วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (วัดเล่งเน่ยยี่ ๒)
ตำบลบางบัวทอง
ตำบลพิมลราช
ตำบลบางรักพัฒนา วัดบางไผ่
ตำบลบางรักใหญ่ วัดโมลี
ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 6.90 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาลฯ มีมัสยิด จำนวน 1 แห่งผู้นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 1.72 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาลฯ และมีผู้นับถือศาสนาอื่น ร้อยละ 0.60 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง
7.2 ประเพณีและงานประจำ
ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญในเขตเทศบาล ได้แก่
ประเพณีแห่เจ้าพ่อจุ้ย ความเชื่อ และ ความศรัทธาเคียงคู่เมืองบางบัวทองกว่าร้อยปี หลังจากประเพณีตรุษจีนให้หลังผ่านไป 15 วัน ขาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในเมืองบางบัวทองมารวมตัวกันเพื่อร่วมงานประเพณีแห่เจ้าพ่อจุ้ย ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ศาลเจ้าประจำตลาดมาเนิ่นนานกว่า 100 ปี ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้เคารพสักการบูชา
ประเพณีสงกรานต์
เทศบาลเมืองบางบัวทอง ได้ดำเนินการจัดงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี ขึ้น ณ วันบางไผ่ (พระอารามหลวง) และวัดละหาร โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์เห็นความสำคัญและคุณค่าของวัฒนธรรมประเพณีของไทย
วันเข้าพรรษา
เทศบาลเมืองบางบัวทอง ได้ดำเนินการจัดงานประเพณีวันเข้าพรรษ “สืบสานวิถีไทย วิถีชาวพุทธ”ขึ้น เ พื่อถวายเป็นพุทธบูชาและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศล ส่งเสริม สนับสนุนอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นและกิจกรรมที่สำคัญ ทางพระพุทธศาสนา เสริมสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชนและหน่วยงานต่างๆสืบสานวัฒนธรรมประเพณี อันดีงามนี้ไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังได้รู้จักสืบไป
วันขึ้นปีใหม่
เทศบาลเมืองบางบัวทอง ได้ดำเนินโครงการจัดงานวันขึ้นปีใหม่ ในวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี ณ บริเวณลานอเนกประสงค์เทศบาลเมืองบางบัวทอง ถนนเทศบาล 3 และถนนเทศบาล 6 เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนาและรับศีลรับพร เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ชีวิตเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ โดยจัดพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์และรับศีลรับพร โดยมีประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลและนอกเขตเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
8. ทรัพยากรธรรมชาติ
8.1 น้ำ
แหล่งน้ำธรรมชาติ มีแม่น้ำ ลำคลองรวมจำนวน 13 สาย แบ่งออกเป็น 1 สายหลัก ได้แก่ คลองพระพิมล คลองสายย่อย จำนวน 12 คลอง ได้แก่
1. คลองผู้ใหญ่จง2. คลองบ้านกล้วย
3. คลองบางไผ่
4. คลองงิ้วค่อม
5. คลองถนน
6. คลองบางพลู
7. คลองตะเคียน
8. คลองใหญ่
9. คลองบ้านกลางคอน
10. คลองสามวัง
11. คลองเขมร
12. คลองขวางศาลา
8.2 ป่าไม้ ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองบางบัวทอง ไม่มีป่าไม้
8.3 ภูเขา ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองบางบัวทองไม่มีภูเขา
8.4 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในพื้นที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ แหล่งน้ำและดิน ที่ยังคงสภาพการใช้ประโยชน์ได้ดีในระดับหนึ่ง ถึงแม้ในส่วนของคูคลอง บางแห่งเกิดการตื้นเขิน ทางเทศบาลเมืองบางบัวทอง ก็ได้ดำเนินการขุดลอก หรือในส่วนของดินก็ยังสภาพความสมบูรณ์เหมาะแก่ทำการเกษตรได้เป็นอย่างดี
9. อื่นๆ เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
9.1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชนดังนี้
ลำดับที่ | ชื่อชุมชน | จำนวนครัวเรือน | ชาย | หญิง | รวม |
1 | กฤษดานคร11 | 100 | 100 | 115 | 215 |
2 | คลองงิ้วค่อม | 160 | 400 | 400 | 800 |
3 | คลองผู้ใหญ่จร | 117 | 200 | 223 | 323 |
4 | แคนนาเฮาน์ | 126 | 150 | 90 | 240 |
5 | จันทิมาธานี | 740 | 455 | 1,250 | 1,780 |
6 | จันทร์ทองเอี่ยม | 230 | 316 | 373 | 686 |
7 | จุรินทร์จัดสรร | 230 | 750 | 470 | 1,220 |
8 | ชลลดา | 2,355 | 1,106 | 1,409 | 2515 |
9 | ชายน้ำจามจุรี | 662 | 150 | 100 | 250 |
10 | ช.รุ่งเรือง6 | 916 | 1,302 | 1,900 | 3,202 |
11 | ตลาดเก่า | 25 | 60 | 80 | 140 |
12 | ทิพย์สุวรรณ | 263 | 420 | 268 | 788 |
13 | เทพบัวทอง | 120 | 198 | 269 | 467 |
14 | นารีนคร | 95 | 175 | 235 | 410 |
15 | บางบัวทองวิลล่า | 118 | 118 | 150 | 300 |
16 | บางพลู | 50 | 70 | 80 | 150 |
17 | บุศรินทร์ | 1,137 | 2,100 | 2,134 | 4,234 |
18 | บุษกร-รติยา | 338 | 353 | 483 | 836 |
19 | บุษชาติ | 78 | 200 | 212 | 412 |
20 | ป.ผาสุขนิเวศน์ | 601 | 750 | 48 | 1,298 |
21 | ประตูน้ำพิมลราช | 160 | 150 | 428 | 578 |
22 | พรมารี | 51 | 296 | 72 | 368 |
23 | พัฒนาเทศบาล 6 | 305 | 428 | 584 | 1,012 |
24 | พุทธชาด | 436 | 213 | 797 | 1,010 |
25 | ฟาร์อีสบ้านใหญ่ | 227 | 185 | 629 | 647 |
26 | สภาวัล1 | 229 | 230 | 364 | 594 |
27 | ไมตรีอุทิศ | 178 | 220 | 234 | 454 |
28 | ร่มโพธิ์ | 450 | 316 | 376 | 692 |
29 | ร่มโพธิ์ทอง 2 | 136 | 160 | 242 | 402 |
30 | ลภาวัล 7 | 155 | 250 | 310 | 560 |
31 | ริมน้ำนนท์นที | 175 | 160 | 182 | 423 |
32 | ร่มโพธิ์ทอง 1 | 249 | 167 | 671 | 838 |
33 | เรือนนครวิลล่า | 68 | 116 | 65 | 181 |
34 | ลุมพินี | 778 | 990 | 510 | 1,500 |
35 | วัฒกาญจน์ | 147 | 195 | 255 | 450 |
36 | วัดบางไผ่ | 301 | 191 | 204 | 900 |
37 | วัดละหาร | 361 | 443 | 632 | 1,047 |
38 | สวนผัก | 158 | 125 | 333 | 458 |
39 | หงส์ประยูร 1 | 783 | 1,469 | 1,694 | 2,520 |
40 | หงส์ประยูร 2 | 493 | 320 | 421 | 741 |
42 | ม.5 โสนลอย | 352 | 500 | 543 | 1,043 |
43 | หลังวัดโมลี | 16 | 30 | 30 | 60 |
44 | ดวงทอง | 152 | 197 | 274 | 471 |
45 | สามวัง | 41 | 26 | 59 | 85 |
46 | พฤกษ์พิมาน | 48 | 70 | 100 | 170 |
47 | ธนกร | 100 | 100 | 250 | 350 |
48 | ทิพย์มณี | 104 | 100 | 137 | 237 |
49 | เอื้ออาทร 1 | 1,362 | 892 | 514 | 1,406 |
50 | เอื้ออาทร 2 | 1,363 | 862 | 205 | 1,067 |
51 | ลภาวัน 14 | 50 | 60 | 68 | 128 |
52 | แยกไทรน้อย | 64 | 80 | 50 | 130 |
53 | หงส์ประยูร 3 | 375 | 261 | 214 | 475 |
54 | ภัสสร 7 | 601 | 600 | 601 | 1,201 |
55 | ศศิภา | 122 | 120 | 170 | 290 |
56 | นวรัตน์ | 110 | 100 | 250 | 350 |
57 | บัวทองธานี 7 | 106 | 239 | 745 | 984 |
58 | เปี่ยมสุขบางพลู 1 | 97 | 100 | 125 | 225 |
59 | บัวทองธานี 9 | 96 | 90 | 102 | 192 |
60 | แกรนดิตี้ | 69 | 45 | 93 | 138 |
61 | เปี่ยมสุขบางพลู 2 | 74 | 56 | 100 | 156 |
62 | บัวทอง พาร์ควิล 14 | 98 | 78 | 100 | 178 |
63 | บ้านมั่นคง | 225 | 250 | 350 | 600 |
รวม | 19,926 | 23,390 | 24,772 | 48,162 |
9.2 ข้อมูลเพื่อจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ) จังหวัดนนทบุรี เทศบาลเมืองบางบัวทอง
จำนวนประชากรชาย 23,390 คน จำนวนประชากรหญิง 24,772 คน พื้นที่ 3,182 ไร่
ลำดับที่ | ชื่อชุมชน | ชาย | หญิง | จำนวนครัวเรือน | พื้นที่ (ไร่) |
1 | กฤษดานคร11 | 100 | 115 | 100 | 10 |
2 | คลองงิ้วค่อม | 400 | 400 | 160 | 250 |
3 | คลองผู้ใหญ่จร | 200 | 223 | 117 | 200 |
4 | แคนนาเฮาน์ | 150 | 90 | 126 | 10 |
5 | จันทิมาธานี | 455 | 1,250 | 740 | 60 |
6 | จันทร์ทองเอี่ยม | 316 | 373 | 230 | 500 |
7 | จุรินทร์จัดสรร | 750 | 470 | 230 | 40 |
8 | ชลลดา | 1,106 | 1,409 | 2,355 | 378 |
9 | ชายน้ำจามจุรี | 150 | 100 | 662 | 50 |
10 | ช.รุ่งเรือง 6 | 1,302 | 1,900 | 916 | 70 |
11 | ตลาดเก่า | 60 | 80 | 25 | 3 |
12 | ทิพย์สุวรรณ | 420 | 268 | 263 | 19 |
13 | เทพบัวทอง | 198 | 269 | 120 | 10 |
14 | นารีนคร | 175 | 235 | 95 | 17 |
15 | บางบัวทองวิลล่า | 118 | 150 | 118 | 15 |
16 | บางพลู | 70 | 80 | 50 | 50 |
17 | บุศรินทร์ | 2,100 | 2,134 | 1,137 | 44 |
18 | บุษกร-รติยา | 353 | 483 | 338 | 21 |
19 | บุษชาติ | 200 | 212 | 78 | 10 |
20 | ป.ผาสุขนิเวศน์ | 750 | 548 | 601 | 49 |
21 | ประตูน้ำพิมลราช | 150 | 428 | 160 | 15 |
22 | พรมารี | 296 | 72 | 51 | 20 |
23 | พัฒนาเทศบาล 6 | 428 | 584 | 305 | 23 |
24 | พุทธชาด | 213 | 797 | 436 | 20 |
25 | ฟาร์อีสบ้านใหญ่ | 185 | 629 | 227 | 40 |
26 | ลภาวัล 1 | 230 | 364 | 229 | 19 |
27 | ไมตรีอุทิศ | 220 | 234 | 178 | 35 |
28 | ร่มโพธิ์ | 316 | 376 | 450 | 25 |
29 | ร่มโพธิ์ทอง 2 | 160 | 242 | 136 | 16 |
30 | ลภาวัล 7 | 250 | 310 | 155 | 25 |
31 | ริมน้ำนนท์นที | 160 | 182 | 175 | 11 |
32 | ร่มโพธิ์ทอง 1 | 167 | 671 | 249 | 20 |
33 | เรือนนครวิลล่า | 116 | 65 | 68 | 10 |
34 | ลุมพินี | 990 | 510 | 778 | 30 |
35 | วัฒกาญจน์ | 195 | 255 | 147 | 15 |
36 | วัดบางไผ่ | 191 | 204 | 301 | 80 |
37 | วัดละหาร | 443 | 632 | 361 | 85 |
38 | สวนผัก | 125 | 333 | 158 | 90 |
39 | หงส์ประยูร 1 | 1,469 | 1,694 | 783 | 40 |
40 | หงส์ประยูร 2 | 320 | 421 | 493 | 20 |
42 | ม.5 โสนลอย | 500 | 543 | 352 | 100 |
43 | หลังวัดโมลี | 30 | 30 | 16 | 60 |
44 | ดวงทอง | 197 | 274 | 152 | 4 |
45 | สามวัง | 26 | 59 | 41 | 30 |
46 | พฤกษ์พิมาน | 70 | 100 | 48 | 10 |
47 | ธนกร | 100 | 250 | 100 | 13 |
48 | ทิพย์มณี | 100 | 137 | 104 | 4 |
49 | เอื้ออาทร 1 | 892 | 514 | 1,362 | 40 |
50 | เอื้ออาทร 2 | 862 | 205 | 1,363 | 40 |
51 | ลภาวัน 14 | 60 | 68 | 50 | 10 |
52 | แยกไทรน้อย | 80 | 50 | 64 | 30 |
53 | หงส์ประยูร 3 | 261 | 214 | 375 | 45 |
54 | ภัสสร 7 | 600 | 601 | 601 | 60 |
55 | ศศิภา | 120 | 170 | 122 | 30 |
56 | นวรัตน์ | 100 | 250 | 110 | 25 |
57 | บัวทองธานี 7 | 239 | 745 | 106 | 40 |
58 | เปี่ยมสุขบางพลู 1 | 100 | 125 | 97 | 20 |
59 | บัวทองธานี 9 | 90 | 102 | 96 | 20 |
60 | แกรนดิตี้ | 45 | 93 | 69 | 20 |
61 | เปี่ยมสุขบางพลู 2 | 56 | 100 | 74 | 35 |
62 | บัวทอง พาร์ควิล 14 | 78 | 100 | 98 | 20 |
63 | บ้านมั่นคง | 250 | 350 | 225 | 40 |
รวม | 23,390 | 24,772 | 19,926 | 3,182 |
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ในปัจจุบันเมืองไทยเราได้กลายเป็นประเทศเปิดที่รับเอาความรู้และเทคโนโลยีของต่างชาติเข้ามาอย่างมากมาย ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่มีความเจริญทางด้านเทคโนโลยี จากผลของการรับเอาวัฒนธรรมของชาติอื่นมานี้เอง ทำให้ประเทศของเรา ชุมชนของเรานึกถึงความสำคัญของภูมิปัญญาชาวบ้าน และเทคโนโลยีในท้องถิ่นอันดี ที่เคยสืบทอดกันมาช้านาน ปัจจุบัน วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของไทยเราส่วนมากจะยังคงปฏิบัติสืบทอดกันมาตามชนบทหรือ ตามท้องถิ่นห่างไกล ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่ยังคงมีการสืบทองภูมิปัญญาชาวบ้าน และเทคโนโลยีในท้องถิ่นอยู่ ดังนั้นการศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านของเราจึงเป็นการธำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและวิถี ชีวิตของท้องถิ่นเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ภูมิปัญญาในท้องถิ่นให้แก่ผู้ที่สนใจได้รับทราบและร่วมภูมิใจกับบุคลในท้องถิ่นด้วย ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่กับสังคมมนุษย์มาช้านานเป็นการดำรงในชีวิตที่เกี่ยวพันกับธรรมชาติของแต่ละท้องถิ่นโดยมีการปรับสภาพการดาเนินชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติตามกาลเวลา (ประเวศ วะศรี, ๒๕๓๖)
ความหมายของภูมิปัญญา
📚พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ (๒๕๔๖, หน้า ๘๒๖) ได้ให้ความหมายของคำว่า ภูมิปัญญาไว้ว่า “พื้นความรู้ความสามารถ” ภูมิปัญญาหมายถึงทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นแต่ละแห่ง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะคน หรือเป็นลักษณะสากล ที่หลายถิ่นมีคล้ายกันก็ได้ ภูมิปัญญา ชาวบ้านในแต่ละถิ่นเกิดจากการแสวงหาความรู้ เพื่อเอาชนะอุปสรรคทางธรรมชาติ ทางสังคม ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ภูมิปัญญานี้จึงเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและชาวบ้าน เช่น การประกอบพิธีกรรมของชุมชน หรือประเพณีการรวมกำลังช่วยกันทำงานใหญ่หลวงเกินวิสัยที่จะทำสำเร็จได้โดยคนเดียวเป็นต้น ภูมิปัญญาหมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าแสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคล และสังคม ซึ่งได้สั่งสมและปฏิบัติสืบต่อกันมาภูมิปัญญาจะเป็นทรัพยากรของบุคคลหรือ ทรัพยากรความรู้ก็ได้ทรัพยากรความรู้ที่ถือว่าเป็นภูมิปัญญา ได้แก่ ความรู้ในสาขาอาชีพหรือวิชาการด้านต่างๆ เช่น การคัดเลือกพันธุ์ข้าว การถนอมอาหาร วัฒนธรรม ศิลปะ จารีตประเพณี เป็นต้นส่วนทรัพยากรบุคคลที่ถือว่าเป็นภูมิปัญญา ได้แก่ ชาวนาผู้ประสบความสำเร็จในการผลิต พราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในบายศรี เป็นต้น ภูมิปัญญาท้องถิ่น (local wisdom) หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน (popular wisdom) เป็นคำที่รู้จักกันมานานพอสมควร เป็นคำที่มีความหมายลึกซึ้ง หลายแง่มุม ซึ่งมีนักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ในแง่มุมต่างกัน ดังนี้
ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน (Popular Wisdom) หรือปัญญาชนชาวบ้านหรือปัญญาชนท้องถิ่น (Intellectual Organic) หมายถึง "พื้นเพรากฐานของความรู้ของชาวบ้าน หรือความรอบรู้ของชาวบ้านที่เรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์สืบเนื่องต่อกันมาทั้งทางตรง คือ ประสบการณ์ด้วยตนเองหรือทางอ้อมซึ่งเรียนรู้จากผู้ใหญ่ หรือความรู้ที่สะสมสืบต่อกันมา" (สามารถ จันทร์สูรย์,๒๕๓๓ อ้างถึงใน สำเนียง สร้อยนาคพงษ์,๒๕๓๕:๒๔)
ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาแห่งชีวิต ทำให้สังคมดำรงอยู่ได้มาเป็นเวลานาน เพราะสังคมเปรียบเสมือนมนุษย์ หากไม่มีสอนหรือปัญญาย่อมไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ (ประเวศ วสี,๒๕๓๔ อ้างถึงใน นิลุบล คงเกตุ,๒๕๔๐ หน้า ๔๓)
วันเพ็ญ พวงพันธุ์บุตร (๒๕๔๒:๑๐๘) ให้ทัศนะเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยว่า หมายถึง องค์ความรู้ทั้งหลายที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดสืบต่อกันมาของชาติไทย โดยการคิดค้นปรับเปลี่ยนผสมผสานกับความรู้ใหม่ และพัฒนาให้เหมาะสม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต มีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
รุ่ง แก้วแดง (๒๕๔๓:๒๐๔) ได้กล่าวถึงภูมิปัญญาไทยว่า หมายถึง องค์ความรู้ความสามารถและทักษะของคนไทย อันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเลือกสรรเรียนรู้พัฒนาและถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย
รัตนะ บัวสนธิ์ (๒๕๓๕:๓๕) กล่าวว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง กระบวนทัศน์ชองบุคคลที่มีต่อตนเอง ต่อโลกและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระบวนทัศน์ดังกล่าวมีรากฐานจากคาสอนทางศาสนา คติ จารีตประเพณีที่ได้รับการถ่ายทอด สั่งสอนและปฏิบัติสืบเนื่องกันมา ปรับเข้ากับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงแต่ละสมัย ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายเพื่อความสงบสุขของส่วนที่เป็นชุมชน และปัจเจกบุคคล
สรุปได้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน จะเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เอง และนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา เป็นเทคนิควิธี เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดทำ โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย
✨ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น✨
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายร่วมถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้าน คิดค้นขึ้น แล้วนามาปรับปรุงแก้ไขพัฒนาแก้ปัญหา เป็นทั้ง สติปัญญาและองค์ความรู้ทั้งหมดของชาวบ้าน ดังนั้น จึงมีความครอบคลุมเนื้อหาสาระและแนวทางดำเนินชีวิตในวงกว้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่นประกอบไปด้วยองค์ความรู้ใน หลายวิชาดังที่ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (๒๕๔๑) ได้จำแนกไว้รวม ๑๐ สาขา คือ
๑. 🌱สาขาเกษตรกรรม หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐาน คุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเองในสภาวการณ์ต่างๆ ได้ เช่น การทำการเกษตรแบบผสมผสาน การแก้ปัญญา การเกษตร เป็นต้น
๒. 🔨สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม (ด้านการผลิตและการบริโภค) หมายถึง การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลผลิตเพื่อ ชะลอการนำเข้าตลาด เพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัยประหยัด และเป็นธรรมอันเป็นกระบวนการให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองทาง เศรษฐกิจได้ ตลอดทั้งการผลิตและการจัดจำหน่ายผลผลิตทางหัตถกรรม เช่น การรวมกลุ่มของกลุ่มโรงงานยางพารา กลุ่มหัตถกรรม และอื่นๆ เป็นต้น
๓. 👨⚕️สาขาการแพทย์ไทย หมายถึง ความสามารถในการจัดการป้องกัน และรักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้
๔. 🌄สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งอนุรักษ์การพัฒนา และใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล และยั่งยืน
๕. 💰สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในด้านบริหารจัดการค้าการสะสมและบริการกองทุนและธุรกิจในชุมชน ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์ เพื่อเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน
๖. 📈สาขาสวัสดิการ หมายถึง ความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคนให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
๗. 🎨สาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้านศิลปะ สาขาต่างๆ เช่น จิตกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ เป็นต้น
๘. 📋สาขาจัดการ หมายถึง ความสามารถในการบริหารการจัดการดำเนินงานด้านต่างๆ ทั้งขององค์กรชุมชน องค์กรทางสังคมอื่นๆ ในสังคมไทย เช่น การจัดการองค์กรของกลุ่มแม่บ้านระบบผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน เป็นต้น กรณีของการจัดการศึกษาเรียนรู้นับได้ว่าเป็นภูมิปัญญาสาขาการจัดการที่มีความสำคัญ เพราะการจัดการศึกษาเรียนรู้ดี หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาและถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาไทยที่มีประสิทธิผล
๙. 🌏สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ความสามารถผลิตผลงานเกี่ยวกับด้านภาษา ทั้งภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทย และการใช้ ภาษา ตลอดทั้งด้านวรรณกรรมทุกประเภท
๑๐. ☮️สาขาศาสนาและประเพณีหมายถึง ความสามารถประยุกต์ และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนาความเชื่อและประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่า ให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติให้บังเกิดผลดีต่อบุคคล และสิ่งแวดล้อม เช่น การถ่ายทอดหลักศาสนา การบวชป่า การประยุกต์ประเพณี บุญประทายข้าว เป็นต้น
ทะเบียนภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง จำนวน ๗ สาขา ประจำปี ๒๕๖๔
๑. สาขาเกษตรกรรม
๑)นายสมชาย ประสิทธิชัย ผู้นำแนวคิดการเกษตรทฤษฎีใหม่ในเขตเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาลเมืองบางบัวทอง
๒)นางเพ็ญศรี บุญธรรม การทำสวนผักลอยฟ้า ผักปลอกสารพิษ ชุมชนชลลดา
๒. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม (ด้านการผลิตและการบริโภค)
๑)นายสำรวย ใสแวว การทำผ้าบาติก ชุมชนบุษกร รติยา
๒)นางจิรภัทร แสงสุวรรณ์ การทำพวงมาลัยผ้าใยบัว ชุมชนบุษกร – รติยา
๓)นายฉลอง สอดผักแว่น การทำเครื่องเงิน ประดับพลอย ชุมชน ป.ผาสุขนิเวศน์
๓. สาขาการแพทย์แผนไทย
๑)นายสมศักดิ์ สมหวัง วิทยากรนวดแผนไทยชุมชนชลลดา
๔. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๑)นางธนกร ปัญญาศิริ ผู้นำการคัดแยกขยะอันตรายในชุมชน ชุมชนกฤษดานคร ๑๑
๒)นางสาวปรียากร์ จาบทอง ผู้นำการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน ชุมชนชายน้ำจามจุรี
๓)นางสาวน้ำใส เขตขาม ผู้นำการคัดแยกขยะอันตรายในชุมชน ชุมชนหงส์ประยูร ๒
๕. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน
๑.นายบุญมี สินมี ประธานกองทุนสวัสดิการชุมชน ชุมชนวัดละหาร
๒.นางแล่ขา หลีกหีม ประธานกลุ่มผ้าทอลายขัดชนิดเส้นใยธรรมชาติ (เส้นไหมแท้) ชุมชนเทพบัวทอง
๖. สาขาอาหาร
๑.นางญานิศา ลิ้มเจริญ OTOP น้ำสมุนไพร ๕ สี ชุมชนร่มโพธิ์
๒.นางสาวอภันตรี เลาะผู้ดี OTOP ซาลาเปาเมืองนนท์ ชุมชนฟาร์อีสบ้านใหญ่
๓.นางภัทรา นามวงษา OTOP เด่นซาลาเปา ชุมชนดวงทอง
๔.นายชุมพล อ่อนประไพ OTOP ขนมเปี้ยะโบราณ ชุมชนหงส์ประยูร
๕.นายคัมภีร์ ศรีจันทร์ OTOP บังมีน เนื้อย่าง - ไก่ย่าง ชุมชนฟาร์อีส – บ้านใหญ่
๖.นายยงยุทธ ศรีสวัสดิ์ OTOP น้องก้องมะพร้าวสด ชุมชน ม.๕ โสนลอย
๗. สาขาภาษาและวรรณกรรม
๑.นายขรรค์ไชย ไชยฤทธิ์ตรีคูณ ผู้แต่งหนังสือประวัติศาสตร์บางบัวทอง ๑๑๐ ปี ชุมชนชลลดา